ชื่อโครงการ: 4.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายวิจัยให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการวิจัยและสร้างนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Module 1 Introduction วันที่ 20 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 (กทม.)
โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่สู่นักวิจัยมืออาชีพ (Research Network Sandbox) รุ่นที่ 2
วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายวิจัยให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการวิจัยและสร้างนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันอุดมศึกษาในด้านการวิจัย
4.3 เพื่อเสริมสร้างกลไกความร่วมมือในระบบเครือข่ายวิจัยระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน
วันเวลาและสถานที่จัดโครงการ
Module 1 Introduction วันที่ 20 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 (กทม.)
Module 2 Planning วันที่ 29 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 (กทม.)
Module 3 Preparation วันที่ 12 – 16 มีนาคม พ.ศ. 2568 (กทม.)
Module 4 Communication and Pitching วันที่ 14 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 (ภูเก็ต)
รายละเอียดหลักสูตร
Module 1 Introduction
เป็นการบรรยายและฝึกปฏิบัติที่มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้
– กิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice breaking) และการสร้างทีม (Team building)
– การชี้แจงเบื้องต้นเกี่ยวกับภาพรวมในการอบรม (Orientation)
– การบรรยายภาพรวมนโยบายและยุทธศาสตร์วิจัยของประเทศ
– การบรรยายเพื่อทำความเข้าใจระบบการบริหารจัดการทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และทำความรู้จักหน่วยบริหารจัดการทุนต่าง ๆ
– กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ได้แก่ พรบ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย
– จรรยาบรรณนักวิจัย จริยธรรมการวิจัยและมาตรฐานต่างๆ
– เสริมความรู้เพิ่มความเขาใจใน PMU (บพค./NIA/สวก./วช./TCELs/สวรส./NVI)
หมายเหตุ จัดกิจกรรมในรูปแบบออนไซต์ กรณีหัวข้อใดที่วิทยากรไม่สะดวก จะจัดในรูปแบบออนไลน์เสริม
Module 2 Planning
เป็นการบรรยายและฝึกปฏิบัติที่มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้
– การบรรยายเทคนิค ในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย- เทคนิคการตั้งโจทย์วิจัย (บรรยายและ Workshop)
– การจัดทำแผนที่การเข้าใจลูกค้า (User empathy map) การคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) และการจัดทำแผนภาพการสร้างคุณค่า (Value proposition canvas)
– วิถีการสร้างผลกระทบ (Impact pathway) และการวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on investment: ROI และ Social return on investment: SROI)
– การประเมินศักยภาพของเทคโนโลยี (Technology evaluation) ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology Readiness Level: TRL) และระดับความพร้อมทางสังคม (Societal Readiness Level: SRL) หมายเหตุ ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือร่างข้อเสนอโครงการวิจัยอย่างน้อย 6 เรื่อง
Module 3 Preparation
เป็นการบรรยายและฝึกปฏิบัติที่มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้
– ศึกษาดูงาน (Success case งานวิจัยเชิงพานิชย์และเชิงสังคม/บริษัทเอกชน)
– Workshop 2 การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
– Success Case ถอดงานชุมชนสู่งานวิจัย
– นำเสนอความก้าวหน้าโครงการที่ได้ทุนรุ่นที่ 1 (และนำเสนอ Success Case ของผู้อบรมรุ่นที่ 1)
Module 4 Communication and Pitching
– เทคนิคการเตรียมต้นฉบับเพื่อเพิ่มโอกาสในการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ- การนำเสนอผลงานในสถานการณ์ที่ต่างกัน (ปากเปล่าและโปสเตอร์)
– Soft skill ที่จำเป็นสำหรับนักวิจัย
– การนำ AI มาช่วยในการทำงานวิจัย
– การพัฒนาบุคลิกภาพ ทักษะการสื่อสาร เจรจาต่อรอง
– เทคนิคในการบริหารโครงการ/แผนงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จ
– การฝึกปฏิบัติขายงาน (Pitching) จากโครงการวิจัยที่พัฒนาร่วมกัน
– การนำเสนอโครงร่างข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนจาก สป.อว. (Show case และนำเสนอข้อเสนอโครงการ)
Post Views: 60