มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่มีเป้าหมายสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยวิจัย” (Research University) และมุ่งมั่นให้อยู่ในอันดับ 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศไทย โดยได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยไว้ 9 ยุทธศาสตร์ โดยความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย และนำไปสู่การดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการผลักดันยุทธศาสตร์การวิจัยทั้ง 9 ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวก่อให้เกิดการพัฒนาด้านบุคลากรทาง การวิจัย ผลงานวิจัย และทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ตลอดจนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศเพิ่มมาก ยิ่งขึ้น รวมถึงเกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยที่เข้มแข็ง จึงเป็น หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
ปี พ.ศ.2565 ถึงปัจจุบัน
สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในคราวประชุมครั้งที่ 297 (5/2565) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 ที่ประชุมมีมติ มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างส่วนงานภายในสำนักงานอธิการบดี (กองการวิจัยและนวัตกรรม) จาก 5 งาน คือ 1. งานจัดการมาตรฐานและเครือข่าย 2. งานวิเคราะห์โครงการและแหล่งทุน 3. งานเผยแพร่และสื่อสารงานวิจัย 4. สถานบ่มเพาะวิสาหกิจ 5. อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง เป็น 3 งาน คือ 1. งานจัดการมาตรฐานและเครือข่าย 2. งานวิเคราะห์โครงการและแหล่งทุน 3. งานเผยแพร่และสื่อสารงานวิจัย
ปี พ.ศ.2562
สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในคราวประชุมครั้งที่ 257 (1/2562) เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562 ที่ประชุมมีมติ อนุมัติการปรับโครงสร้างหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดี ย้ายสถานบ่มเพาะวิสาหกิจ และ อุทยานวิทยาศาสตร์ ไปสังกัดของกองส่งเสริมการวิจัย และเปลี่ยนชื่อเป็น กองการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมย้ายสำนักงานจาก อาคารเอกาทศรถ ชั้น 3 ไปอยู่ อาคารมหาธรรมราชา (โซนเอ) ให้แบ่งหน่วยงานภายใน ออกเป็น 5 งาน ดังนี้ 1. งานจัดการมาตรฐานและเครือข่าย 2. งานวิเคราะห์โครงการและแหล่งทุน 3. งานเผยแพร่และสื่อสารงานวิจัย 4. สถานบ่มเพาะวิสาหกิจ 5. อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ช่วยอธิการบดีที่ดูแลด้านการวิจัยและนวัตกรรม
ปี พ.ศ.2557
สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในคราวประชุมครั้งที่ 196 (6/2557) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2557 มีมติ อนุมัติการปรับโครงสร้างของกองบริหารการวิจัย จาก 5 งาน เป็น 3 งาน ดังนี้ 1. งานอำนวยการ 2. งานวิเคราะห์โครงการและแหล่งทุน 3. งานจัดการผลผลิตการวิจัย เพื่อที่จะได้สนับสนุนกรอบนโยบายในการพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวรให้มีชื่อเสียงด้านการวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้ต่อไป อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
ปี พ.ศ.2555
สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในคราวประชุมครั้งที่ 170 (4/2555) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2555 มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างกองบริหารการวิจัย จาก 3 งาน เป็น 5 งาน ได้แก่ งานธุรการ งานวิเคราะห์โครงการและแหล่งทุน งานวิจัยเฉพาะกิจและมาตรฐานการวิจัย งานการจัดการผลผลิตการวิจัย และงานสารสนเทศการวิจัย เพื่อเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนยุทศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
ปี พ.ศ.2552
มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการปรับโครงสร้างของสถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนาใหม่ เป็น กองบริหารการวิจัย ภายใต้สังกัดสำนักงานอธิการบดี ประกอบด้วย 3 งาน ได้แก่ งานธุรการ งานประสานและส่งเสริมโครงการวิจัย และงานส่งเสริมและเผยแพร่งานวิจัย โดยใช้กลไกการดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการเป็นหลัก ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้สนับสนุนกรอบนโยบายในการพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวรให้มีชื่อเสียงด้านการวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้ต่อไป อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์
ปี พ.ศ.2549
มีการยกระดับและปรับเปลี่ยนโครงสร้างของงานวิจัย กองบริการการศึกษา ไปเป็นสถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา โดยให้มีฐานะเทียบเท่าหน่วยงานระดับคณะ เพื่อให้การผลักดัน/ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การวิจัยทั้ง 9 ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (สภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 121 (5/2548) เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 48) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ
ปี พ.ศ.2544
มหาวิทยาลัยได้มีนโยบายในการปรับโครงสร้างของกองบริการการศึกษาใหม่ โดยให้แบ่งหน่วยงานภายในกองบริการการศึกษาออกเป็น 7 งาน ประกอบด้วย งานทะเบียนฯ งานพัฒนาวิชาการ งานรับเข้า งานวิเทศสัมพันธ์ งานส่งเสริมวิชาการ งานธุรการ และงานวิจัย (ตามมติที่ประชุมกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 33/44 เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 44 และมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 99 (6/2544) เมื่อวันที่ 24 พ.ย.44) โดยมอบหมายให้รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ กำกับดูแลงานวิจัย ซึ่งอยู่ภายใต้กองบริการการศึกษาขณะนั้น
ปี พ.ศ.2542
เริ่มจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้น อยู่ในงานพัฒนาวิชาการ กองบริการการศึกษา อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
Post Views: 101